วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสคอมพิวเตอร์

          ไวรัสคอมพิวเตอร์(computer  virus)หรือเรียกสั้นๆว่าไวรัสคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้ราไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากจะพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความเสียหายให้แก่ระบบให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆซึ่งไวรัสแบ่งออกเป็น6ประเภท
1ไวรัสพาราสิต(parasitic virus)ไวรัสประเภทนี้จะเริ่มทำงานและจำลองตัวเองเมื่อมีการเรียกใช้งานไฟล์ที่ติดไวรัส ไวรัสคอมพิวตอร์โดยส่วนมากจะเป็นประเภทนี้
 2ไวรัสบูตเซกเตอร์(boot  seotor virus) ไวรัสประเภทนี้จะฝังตัวลงไปบูตเซกเตอร์แทนที่คำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ไวรัสประเภทนี้จะโหลดตัวเองเข้าไปที่หน่วยความจำก่อนที่จะโหลดระบบปฏิบัติการ หลังจากนั้นจะสำเนาตัวเองไปฝังอยู่กับไฟล์อื่นๆ
3ไวรัสสเตลท์   (stealth virus) ไวรัสประเภทนี้เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมป้องกันไวรัสต่างๆตรวจไม่พบ และเมื่อไปติดกับโปรแกรมใดแล้วจะทำให้โปรแกรมมีขนาดใหญ่ขึ้น
4ไวรัสโพลีมอร์ฟิก(poiymorphic virus)ไวรัสประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่ติดต่อคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสประเภทนี้ตรวจพบได้ยาก
5ไวรัสแมโคร(macro virus)ไวรัสประเภทนี้มีผลกับ macro application (มักพบในโปรแกรมประเภท word processors) เมื่อผู้เรียกใช้ไฟล์ที่มีไวรัสติดมาด้วย จะทำให้ไวรัสไปฝังตัวอยู่ที่หน่วยความจำจนเต็มซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลง และอาจส่งผลเสียกับข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้
6หนอนอินเตอร์เน็ต(worms)เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่จะติดต่อกันได้ทางอินเทอร์เน็ตสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยไวรัสชนิดนี้จะคักดลอกตัวเองซ้ำและใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการแพร่กระจายซึ่งโดยทั่วไปจะมากับอีเมล์ ตัวอย่างของหนอนอินเทอรืเน็ต คือ Adore โดยจะทำการค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการlinuxหลังจากนั้นจะสร้างช่องทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้แฮกเกอร์(hacker)สามารถเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
ที่มา:หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารม.2(หน้าที่13)
ผู้แต่ง:อารียา  ศรีประเสริฐ    สายสุนีย์  เจริญสุข   สุปราณี วงษ์แสงจันทร์

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สู้เพื่อแม่

สู้เพื่อแม่

   
    แม่ คือ ผู้ให้กำเนิดเกิดฉันมาทั้งดูแลทั้งปกป้องไม่ให้ฉันเจ็บป่วยและโดนใครรังแก แม่คือคนที่ทำให้ฉันรู้ว่าความรักใดๆไม่อบอุ่นและแท้เท่าความรักของแม่ แม่ให้ทุกสิ่งที่ผมอยากได้ แม่ให้ทั้งชีวิตและความสุขความอบอุ่นยิ่งกว่าใครจะให้  ผมทำผิดแม่พร้อมที่จะอภัยไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่
    วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2544 เป็นวันที่ผมได้ลืมตาออกมาดูโลกและได้เจอผู้หญิงที่รักผมตั้งแต่ผมยังอยู่ในท้อง ผมได้ลืมตาแล้วดูรอบข้างไม่มีใครที่ให้ความรักผมนอกจากแม่  แม่คือผมให้ไม่รู้จบแม่ให้ทั้งเลือดที่กลั่นมาจากอกของแม่(นม) แม่ยอมทำทุกทางให้ลูกอยู่อย่างสบายแม่ยอมเสือเหงื่อเพื่อผมมามาก ผมอยากตอบแทนแม่อย่างไรก็ไม่รู้จบ แม่มีพระคุณแก่ผมมากๆๆๆๆๆ แม่คือคนที่ให้กำเนิด แม่อดทนอุ้มท้องมา9เดือนโดยไม่บ่น แม่เพียงอยากใด้เห็นลูกเกิดมาเป็นคนดี แม่ไม่ต้องการทรัพย์สินเงินทองจากลูกแม้บาทเดียวแม่แค่เพียงอยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคมไม่ทำให้แม่เสียใจเสียความรู้สึก แม่แค่อยากให้ลูกเลี้ยงตัวเองได้ยืนด้วยลำแข้งของตนเองไม่พึงคนอื่น แม่เลี้ยงผมด้วยความรักมาตั้งแต่เล็กๆเสียสละเพื่อผมมาตลอด ยอมอดเพื่อให้ผมอิ่มนอนสะบาย แม่คือผู้ที่ผมรักมากกว่าใครๆเพราะแม่เลี้ยงผมมาตั้งแต่เด็กๆผมรักแม่มากกว่าผู้ใด แม่เสียสละให้ผมทุกอย่างยอมแม้ไม่มีเงินกินยอมให้ลูกกิน
    ผมรักแม่ ผมจะไม่ทำให้แม่เสียใจ ผมจะตั้งใจเรียน ผมจะไม่ยุ่งกับยาเสพติด ผมสัญญาว่าผมจะไมทำให้แม่ผิดหวัง ผมรักแม่มากๆๆ ผมจะไม่ให้แม่ต้องเหนื่อยใจและกาย  ผมจะทำความดี
ผมจะเรียนสูงๆจะทำให้แม่สะบายยามที่ผมมีงานทำผมจะเลี้ยงแม่ ผมรักแม่ครับ

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำหน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ(scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน
  

การเชื่อมโยงเครือข่าย

สื่อกลางการสื่อสารที่ใช้ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อสร้างเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสายเคเบิลไฟฟ้า (HomePNA, สายไฟฟ้าสื่อสาร, G.hn), ใยแก้วนำแสง และคลื่นวิทยุ (เครือข่ายไร้สาย) ในโมเดล OSI สื่อเหล่านี้จะถูกกำหนดให้อยู่ในเลเยอร์ที่ 1 และที่ 2 หรือชั้นกายภาพและชั้นเชื่อมโยงข้อมูล
ครอบครัวของสื่อการสื่อสารที่ถูกพัฒนาอย่างกว้างขวางและถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เรียกว่า อีเธอร์เน็ต มาตรฐานของสื่อกลางและของโพรโทคอลที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือ ข่ายอีเธอร์เน็ตถูกกำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802. อีเธอร์เน็ตในโลกไซเบอร์มีทั้งเทคโนโลยีของ LAN แบบใช้สายและแบบไร้สาย อุปกรณ์ของ LAN แบบใช้สายจะส่งสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นสายเคเบิล อุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้คลื่นวิทยุหรือสัญญาณอินฟราเรดเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านสํญญาณ

เทคโนโลยีแบบใช้สาย

เทคโนโลยีแบบใช้สายต่อไปนี้เรียงลำดับตามความเร็วจากช้าไปเร็วอย่างหยาบๆ
รูปแสดงสาย UTP
สายคู่บิดเป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการสื่อสาร โทรคมนาคมทั้งหมด สายคู่บิดประกอบด้วยกลุ่มของสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีการบิดเป็นคู่ๆ สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้ภายในบ้านทั่วไปประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวนเพียง สองสายบิดเป็นคู่ สายเคเบิลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบบใช้สายอีเธอร์เน็ตตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3) จะเป็นสายคู่บิดจำนวน 4 คู่สายทองแดงที่สามารถใช้สำหรับการส่งทั้งเสียงและข้อมูล การใช้สายไฟสองเส้นบิดเป็นเกลียวจะช่วยลด crosstalk และการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสายภายในเคเบิลชุดเดียวกัน ความเร็วในการส่งอยู่ในช่วง 2 ล้านบิตต่อวินาทีถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที สายคู่บิดมาในสองรูปแบบคือคู่บิดไม่มีต้วนำป้องกัน(การรบกวนจากการเหนี่ยวนำ แม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก) (unshielded twisted pair หรือ UTP) และคู่บิดมีตัวนำป้องกัน (shielded twisted pair หรือ STP) แต่ละรูปแบบออกแบบมาหลายอัตราความเร็วในการใช้งานในสถานการณ์ต่างกัน
รูปแสดง STP จะเห็น sheath ที่เป็นตัวนำป้องกันอยู่รอบนอก
สายโคแอคเชียลถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับระบบเคเบิลทีวี, ในอาคารสำนักงานและสถานที่ทำงานอื่นๆ ในเครือข่ายท้องถิ่น สายโคแอคประกอบด้วยลวดทองแดงหรืออะลูมิเนียมเส้นเดี่ยวที่ล้อมรอบด้วยชั้น ฉนวน (โดยปกติจะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นกับไดอิเล็กทริกคงที่สูง) และล้อมรอบทั้งหมดด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ไฟฟ้าจากภายนอก ฉนวนไดอิเล็กทริกจะช่วยลดสัญญาณรบกวนและความผิดเพี้ยน ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในช่วง 200 ล้านบิตต่อวินาทีจนถึงมากกว่า 500 ล้านบิตต่อวินาที
รูปแสดงสายโคแอคเชียล
'ITU-T G.hn เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟที่มีอยู่ในบ้าน (สายโคแอค, สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า) เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นความเร็วสูง (ถึง 1 Gb/s)
ใยแก้วนำแสง เป็นแก้วไฟเบอร์ จะใช้พัลส์ของแสงในการส่งข้อมูล ข้อดีบางประการของเส้นใยแสงที่เหนือกว่าสายโลหะก็คือมีการสูญเสียในการส่ง น้อยและมีอิสรภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีความเร็วในการส่งรวดเร็วมากถึง ล้านล้านบิตต่อวินาที เราสามารถใช้ความยาวคลื่นที่แตกต่างของแสงที่จะเพิ่มจำนวนของข้อความที่ถูก ส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงพร้อมกันในเส้นเดียวกัน

เทคโนโลยีไร้สาย

'ไมโครเวฟบนผิวโลก - การสื่อสารไมโครเวฟบนผิวโลกจะใช้เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณจากสถานีบน ผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม ไมโครเวฟภาคพื้นดินอยู่ในช่วงกิกะเฮิรตซ์ที่ต่ำ ซึ่งจำกัดการสื่อสารทั้งหมดด้วยเส้นสายตาเท่านั้น สถานีทวนสัญญาณมีระยะห่างประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์)
ดาวเทียมสื่อสาร - การสื่อสารดาวเทียมผ่านทางคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ไม่ได้เบี่ยงเบนโดยชั้น บรรยากาศของโลก ดาวเทียมจะถูกส่งไปประจำการในอวกาศ ที่มักจะอยู่ในวงโคจร geosynchronous ที่ 35,400 กิโลเมตร (22,000 ไมล์) เหนือเส้นศูนย์สูตร ระบบการโคจรของโลกนี้มีความสามารถในการรับและถ่ายทอดสัญญาณเสียง, ข้อมูลและทีวี
ระบบเซลลูลาร์และ PCS ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยุหลายเทคโนโลยี ระบบแบ่งภูมิภาคที่ครอบคลุมออกเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่มีเครื่องส่งหรืออุปกรณ์เสาอากาศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำ เพื่อถ่ายทอดสัญญาณเรียกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งข้างหน้า
เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือ ถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกัน คือ Wifi
การสื่อสารอินฟราเรด สามารถส่งสัญญาณระยะทางสั้นๆมักไม่เกิน 10 เมตร ในหลายกรณีส่วนใหญ่ การส่งแสงจะใช้แบบเส้นสายตา ซึ่งจำกัดตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์การสื่อสาร
เครือข่ายทั่วโลก (global area network หรือ GAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการสนับสนุนการใช้งานมือถือข้ามหลายๆ LAN ไร้สาย หรือในพื้นที่ที่ดาวเทียมครอบคลุมถึง ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญในการสื่อสารเคลื่อนที่คือการส่งมอบการสื่อสารของผู้ใช้ จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ใน IEEE 802 การส่งมอบนี้เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของ LAN ไร้สายบนผิวโลก 
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8
2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หอมแผ่นดิน

หอมแผ่นดิน ตอน...เพียงพอใจ  สวนพุทราสามรสปลอดสารพิษ 4 ไร่ ของ เป็ง ศรีสุข อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี เกิดขึ้นได้จากการสุขที่เพียงพอใจ


ทีมา https://www.youtube.com/watch?v=oZmp4qMSyXY
_______________________________________________________________________

   หอมแผ่นดิน ตอน ฟื้นชีวิต สวนผลไม้ของชาตรี เตี่ยบัวแก้วได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปีพ.ศ.2554ไม้ผลที่ฟูมฟักมานานล้มตายทั้งหมด เหลือเพียงความรู้ติดตัวสำหรับการตั้งต้นนับหนึ่งใหม่ 


ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=VuOMhRop1RI
_______________________________________________________________________

หอมแผ่นดิน ตอน ความยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน

สุธรรม จันทร์อ่อน เกษตรกรผู้ยึดหลักความสมดุล ความพอเพียงความหลากหลาย ความเกลือกูลกันของธรรมชาติ จนทำให้การทำเกษตรมีต้นทุนเป็นศูนย์
ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=Wv9CznVOtdQ

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

                 เศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร
         เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่
ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนิน
ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร
         เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้

ใครที่สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได
        เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญาที่ทุกๆ คน สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง นักเรียน เกษตรกร ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน สถาบันต่างๆ ทั้งนอกภาค
การเกษตรและในภาคการเกษตร สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาธุรกิจการค้าได้จริง


เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น เราได้สรุปรวบยอดมาให้เข้าใจได้ง่ายๆ พร้อมทั้งนำภาพประกอบความเข้าใจ มาให้ดูด้วยเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นั้น แท้จริงแล้ว เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้




ที่มาhttp://xn--12cmc4a2ea2ac8bl2czera7lj.net/3%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%872%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82.html

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/